HOME CONTACT US

การออกแบบหัวฉีดน้ำ
How to Deign Spray Nozzle

การออกแบบหัวฉีดน้ำ
How to Deign Spray Nozzle

ในการออกแบบหัวฉีดน้ำหลายๆหัว เราจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง พื้นที่ ครอบคลุมของสเปรย์น้ำ โดยที่เราต้อง ทราบถึงพื้นที่ครอบคลุมของหัวฉีดน้ำของแต่ละหัวก่อน และลักษณะของการฉีดสเปรย์ เช่น

การออกแบบหัวฉีดสเปรย์น้ำแบบทรงพัดแบน (Flat fan spray nozzle) จะพิจารณาจาก

1. อัตราการไหลและแรงดันของน้ำจากหัวฉีดก่อน
2. ตำแหน่งของหัวฉีดน้ำ
3. พื้นที่ทั้งหมดที่ต้องการฉีดน้ำ
4. ความสูงระหว่างหัวสเปรย์ถึงพื้น
5. องศาการฉีดน้ำของหัวฉีดน้ำ จะทำให้สามารถคำนวณพื้นที่ครอบคลุมของการสเปรย์ฉีดน้ำ

พื้นที่ครอบคลุมของหัวสเปรย์แบบแบน


เมื่อได้ข้อมูลครบแล้วจะทำการออกแบบ โดยให้ขอบของการสเปรย์น้ำซ้อนกันอยู่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้พื้นที่ได้รับการสเปรย์อย่างทั่วถึง

การออกแบบหัวฉีดสเปรย์น้ำแบบทรงกรวย (Full cone) จะพิจารณาจาก

1. อัตราการไหลและแรงดันของน้ำจากหัวฉีดก่อน
2. ตำแหน่งของหัวฉีดน้ำ
3. พื้นที่ทั้งหมดที่ต้องการฉีดน้ำ
4. ความสูงระหว่างหัวสเปรย์ถึงพื้น
5. องศาการฉีดน้ำของหัวฉีดน้ำ จะทำให้สามารถคำนวณพื้นที่ครอบคลุมของการสเปรย์ฉีดน้ำ

พื้นที่ครอบคลุมการสเปรย์น้ำทรงกรวย

โดยการคำนวณการออกแบบหัวฉีดน้ำตามรูปด้านบนจะใช้จำนวนหัวฉีดน้อยที่สุด วิธีนี้เรียกว่าสแควร์เลย์เอาท์ไดอะแกรม
วิธีนี้จะเว้นระยะหัวฉีดน้ำเป็นระยะเท่ากันหมด ซึ่งง่ายต่อการออกแบบด้วย

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติม

degree of spraynozzle

การคำนวณองศาการสเปรย์น้ำจะต้องคำนึงถึงความเป็นจริงด้วย เนื่องจากองศาที่ระบุมาตามสเปคของหัวฉีดจะไม่ได้เป็นองศาเดียวกับที่ระบุไว้ตลอด เนื่องจากแรงดัน และสภาวะแวดล้อม จึงต้องเผื่อระยะตรงนี้ไว้ด้วย โดยการลดระยะห่างลงมา

DISTANCE-ระยะห่างของหัวสเปรย์ฉีดน้ำกับสิ่งที่ต้องฉีดน้ำ
THEORETICAL COVERAGE-พื้นที่ครอบคลุมของหัวฉีดน้ำที่ระบุไว้ตามสเปค
ACTUAL COVERAGE-พื้นที่ครอบคลุมของหัวฉีดน้ำทำได้จริง

English Version>>